วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหาร Fast Food

อาหาร Fast Food

           อาหารจานด่วน ( Fast Food ) คือ อาหารที่หาง่าย ปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว หรือทันเวลาพอดี ( just in time ) พร้อมทานได้ทันที เพราะเป็นอาหารที่ทำง่ายหรือทำเตรียมไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ราคาไม่แพง อาจจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการครบหรือไม่ครบบ้างแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด

          จั๊งค์ฟู้ด (Junk Food) ถือว่าเป็นส่วนย่อยของอาหาร Fast Food อีกทีหนึ่ง แต่จะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เบอร์เกอร์ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ฮอทดอก พิซซ่า โดนัท น้ำอัดลม ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ที่ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปด้วย แป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือ ไม่ค่อยมีวิตามินและใยอาหาร

สิ่งที่พบในอาหาร Fast Food
          ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fats) : อาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด มักจะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เนื่องจากว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูกนั่นเอง แถมยังสามารถทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดีอีกด้วย การทานอาหาร Junk Food เราจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ 1 มื้อ ถ้ากินบ่อยเกินไปอาจมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นด้วย

          เกลือ (Salt;Sodium) : โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยใน 1 วัน แต่อาหารประเภท Junk Food จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมในสัดส่วนที่สูงมาก ถ้ารับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มก.
          น้ำตาล (Sugar) : น้ำอัดลม นั้นจะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก การที่เราบริโภคเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดฟันผุอีกด้วย
ปัจจุบันพบว่าคนในเมืองใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนขึ้น ด้วยเพราะสิ่งแวดล้อม สังคม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พฤติกรรมการบริโภคที่นิยมอาหารจานด่วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคถึงร้อยละ 85 (ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 15 มาจากกรรมพันธุ์) ซึ่งได้แก่ภาวะโรคอ้วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่ต่ำลง เนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลสูง

            ปัจจุบันพบว่าคนในเมืองใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนขึ้น ด้วยเพราะสิ่งแวดล้อม สังคม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พฤติกรรมการบริโภคที่นิยมอาหารจานด่วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคถึงร้อยละ 85 (ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 15 มาจากกรรมพันธุ์) ซึ่งได้แก่ภาวะโรคอ้วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่ต่ำลง เนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น