วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารเจ

 อาหารเจ

อาหารเจอาหารเจ

8 ข้อหลักง่าย ๆ กินเจให้ถูกวิธี

                  แล้วกินเจอย่างไรให้ถูกวิธี ไม่ให้อ้วน ไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร วันนี้ นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการแผนงานโภชนาการเชิงรุก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีคำแนะนำดี ๆ มาบอกให้ฟังว่า การกินเจถือเป็นเรื่องดี ที่คนหันมากินผักมากกว่า แต่การกินเจใช่เพียงจะมองแต่จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ แต่ควรมองเรื่องของการถือศีลควบคู่เป็นสำคัญ ส่วนวิธีการกินเจให้ถูกวิธี มีหลักง่าย ๆ 8 ข้อ คือ
1.ต้องมั่นใจว่ารับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะหมู่โปรตีน ซึ่งโปรตีนที่จะมาทดแทนเนื้อสัตว์คือ โปรตีนที่ได้จากถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปัจจุบันนี้มีการผลิตออกมาในรูปแบบของเต้าหู้แผ่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ทอด ขณะที่วิทยาศาสตร์ด้านอาหารก้าวไกลไปมาก จึงทำให้เกิดโปรตีนเกษตรที่ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้นิยมบริโภคจำนวนมากเช่นกัน แต่จากที่ตนได้ลงสำรวจในตลาดพบว่า ปัจจุบันนี้มีการทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ แต่ไม่ได้ทำมาจากโปรตีนเกษตร โดยทำมาจากแป้ง ซึ่งก็อาจส่งผลให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้ทานมากไปอาจอ้วนได้

          2.ความสะอาด ส่วนมากผู้ทานเจในปัจจุบันจะมักนิยมไปซื้ออาหารเจตามร้านค้า ไม่ค่อยปรุงอาหารเอง ซึ่งก็เสี่ยงต่อเรื่องของความสะอาด ดังนั้นผู้ปรุงอาหารเจขายควรคำนึงเรื่องของความสะอาดให้มาก โดยเฉพาะการทำความสะอาดผักที่นำมาประกอบอาหาร การเลือกดูเครื่องปรุงรส ไม่ว่าจะเป็นซอส ซีอิ๊ว ต้องดูวันหมดอายุ และผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นต้น
3.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ในที่นี้หมายถึงรสมันจัดกับเค็มจัด เพราะอาหารเจมักจะปรุงด้วยวิธีการผัด-ทอดในน้ำมัน หากเป็นไปได้ควรหันมาบริโภคอาหารประเภทต้ม ย่าง อบ ยำ เช่น ยำมะเขือยาว แกงจืดเต้าหู้ ฯลฯ แทน

          ส่วนรสเค็มจัดนั้น ต้องอย่าลืมว่าการปรุงอาหารก็จะใช้ซอส ซีอิ๊ว เกลือแทนน้ำปลา ซึ่งเครื่องปรุงเหล่านี้มีปริมาณของโซเดียมสูง ซึ่งจะส่งผลให้ไตทำงานหนัก โดยปกติคนเราจะบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 mg./วัน

          4.ควรเลือกทานผัก-ผลไม้สด มากกว่าผักดอง เพราะผักสดมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักดอง

          5.อาหารเจประเภทที่ปรุงด้วยวิธีการเคี่ยวนาน ๆ อาจทำให้คุณค่าของสารอาหารสูญเสียไป เช่น ต้มจับฉ่าย ที่ต้องใช้เวลาเคี่ยวนาน ในส่วนนี้ต้องระวังเรื่องของคุณค่าอาหารจะหายไป รวมถึงความสะอาดของผัก เพราะหากไม่ล้างให้สะอาดแล้วนำมาปรุง ก็เท่ากับสารพิษก็จะตกค้างอยู่ในหม้อ

          6.ทานเจให้ได้ไอโอดีนอย่างเพียงพอ เพราะการทานเจไม่ได้รับประทานอาหารทะเล ดังนั้นการรับประทานอาหารเจ ก็ควรเติมเกลือไอโอดีนใส่ในการปรุงรสด้วยก็จะช่วยทดแทนได้

          7.ควรบริโภคข้าวกล้องมากกว่าข้าวขาว เพราะในข้าวกล้องมีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีนมากกว่าข้าวขาว

          8.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม แล้วหันมาดื่มน้ำเปล่าบริสุทธิ์แทน


วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารสมุนไพร

อาหารสมุนไพร



              สมุนไพรที่ให้ประโยชน์เป็นทั้งอาหารและยารักษาโรค ในแง่ของอาหาร สมุนไพรดังกล่าวสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายในการดำรงชีวิต เนื่องจากมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายอยู่ สารดังกล่าวได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ กรดอินทรีย์ ไวตามินและน้ำย่อย สารเหล่านี้ล้วนมีอยู่ในพืชแล้วทั้งสิ้น อาหารสมุนไพรอาจอยู่ในรูปของธัญญาหารและถั่วต่างๆ ผักผลไม้ เครื่องเทศ และเครื่องดื่มที่เตรียมมาจากสมุนไพร ในแง่ของยารักษาโรค อาหารสมุนไพรที่ใช้ขนาดที่พอเหมาะจะรักษาโรคได้ เช่นดอกอ่อนและยอดขี้เหล็กใช้แกงเป็นอาหาร ในขณะเดียวกันก็เป็นยาเจริญอาหาร และช่วยระบายด้วย กระเทียมเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และออกฤทธิ์เป็นยาขับลม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ตลอดจนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ได้จากอาหารสมุนไพร คือ เส้นใยซึ่งเป็นเซลลูโลสในพืชจะทำให้ผู้บริโภคขับถ่ายได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

อาหาร Fast Food

อาหาร Fast Food

           อาหารจานด่วน ( Fast Food ) คือ อาหารที่หาง่าย ปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว หรือทันเวลาพอดี ( just in time ) พร้อมทานได้ทันที เพราะเป็นอาหารที่ทำง่ายหรือทำเตรียมไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ราคาไม่แพง อาจจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการครบหรือไม่ครบบ้างแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด

          จั๊งค์ฟู้ด (Junk Food) ถือว่าเป็นส่วนย่อยของอาหาร Fast Food อีกทีหนึ่ง แต่จะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เบอร์เกอร์ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ฮอทดอก พิซซ่า โดนัท น้ำอัดลม ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ที่ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปด้วย แป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือ ไม่ค่อยมีวิตามินและใยอาหาร

สิ่งที่พบในอาหาร Fast Food
          ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fats) : อาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด มักจะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เนื่องจากว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูกนั่นเอง แถมยังสามารถทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดีอีกด้วย การทานอาหาร Junk Food เราจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ 1 มื้อ ถ้ากินบ่อยเกินไปอาจมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นด้วย

          เกลือ (Salt;Sodium) : โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยใน 1 วัน แต่อาหารประเภท Junk Food จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมในสัดส่วนที่สูงมาก ถ้ารับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มก.
          น้ำตาล (Sugar) : น้ำอัดลม นั้นจะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก การที่เราบริโภคเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดฟันผุอีกด้วย
ปัจจุบันพบว่าคนในเมืองใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนขึ้น ด้วยเพราะสิ่งแวดล้อม สังคม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พฤติกรรมการบริโภคที่นิยมอาหารจานด่วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคถึงร้อยละ 85 (ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 15 มาจากกรรมพันธุ์) ซึ่งได้แก่ภาวะโรคอ้วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่ต่ำลง เนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลสูง

            ปัจจุบันพบว่าคนในเมืองใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนขึ้น ด้วยเพราะสิ่งแวดล้อม สังคม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พฤติกรรมการบริโภคที่นิยมอาหารจานด่วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคถึงร้อยละ 85 (ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 15 มาจากกรรมพันธุ์) ซึ่งได้แก่ภาวะโรคอ้วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่ต่ำลง เนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลสูง

อาหารไทยภาคเหนือ

อาหารไทยภาคเหนือ

          อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ประเภทแกงเช่น แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองอื่นๆ เช่น แหนม ไส้อั่ว
แคบหมูและผักต่างๆ นิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก นิยมทาน เนื้อหมู เพราะหาได้ง่ายราคาไม่แพง
สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล

                     

อาหารไทยภาคใต้

อาหารไทยภาคใต้

          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงไตปลา แกงเหลือง เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าว
เรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ฝักสะตอนั้นขาดไม่ได้สำหรับอาหารภาคใต้ ทาใช้ทั้งเม็ดที่อยู่ด้านในของฝัก
นำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุกแล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริกหรือจะใช้สดๆ
โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้ หรือแช่แข็งก็ได้

              

อาหารไทยภาคกลาง

อาหารไทยภาคกลาง 

            อาหารที่ชาวภาภกลางชอบรับประทานจนเป็นประเพณี มีรูปลักษณะ รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างไปจากอาหารท้องถิ่นภาคอื่นๆของไทย
            อาหารท้องถิ่นภาคกลาง นอกจากเป็นที่นิยมของชาวไทยภาคกลางแล้ว ชนต่างถิ่นที่มาเยือนรวมถึงชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบเพราะรสฃาติอร่อย ให้คุณค่าอาหารสูงมีธาตุและสารอาหารจากเครื่องปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมุนไพรและเครื่องเทศที่ให้สรรพคุณเป็นยาป้องกันและบำบัดโรค

 


ลักษณะของอาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง
๑. รสชาติ อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง โดยทั่วไปมีสามรส เปรี้ยว เค็ม หวาน บางชนิดมีเผ็ด มัน ขม เมื่อปรุงเสร็จจะได้รสกลมกล่อม
๒.รูปร่างลักษณะของอาหารภาคกลาง เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ ประชาการจะอยู่อย่างมีความสุข กอปรกับภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ในวังหลวงมีการประดิษฐ์ประดอย จัดแต่งอาหารและวัสดุที่ประกอบอาหารสวยงาม เมื่อปรุงเสร็จอาหารก็จะน่ารับประทาน
๓. กลิ่นและสี อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง กลิ่นนั้นจะหอมน่ารับประทาน เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม ก็จะหอมกลิ่นพริกเป็นหอมฉุน ถ้าเป็นขนมก็กลิ่นจะหอมหวาน

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารไทยภาคอีสาน

อาหารไทยภาคอีสาน




  





อาหารภาคอีสาน  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)   มีรสชาติเด่น 
คือ  รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก
ผักพื้นบ้าน  เช่น  มะขาม  มะกอก  

 
           อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบ
ใส่กะทิ   คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด  เช่น
ซุปหน่อไม้  อ่อม  หมก  น้ำพริกต่างๆ  รวมทั้งส้มตำ

 
           อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย    ได้แก่    ปลาร้าบ้อง
อุดมด้วยพืชสมุนไพร    เช่น    ข่า   ตะไคร้   หอมแดง    กระเทียม
ใบมะกรูด    มะขามเปียก    หรืออย่างแกงอ่อม     ที่เน้นการใช้ผัก
หลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวาน
ของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาว
หรืออย่างต้มแซบ   ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของ
ของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน

 
           คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไป
จะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด   หวด  คือภาชนะที่เป็นรูปกรวย  ทำด้วยไม้ไผ่
ซึ่งจะต้องใช้คู่กับหม้อทรงกระบอก